อัตราค่าซ่อมแอร์ระบบรั่ว พร้อมแว็คคั่ม / เติมน้ำยาเต็มระบบ |
ลำดับ | รายการ | ราคา | รับประกัน | ระยะเวลา |
1 | เครื่องปรับอากาศ ขนาด 12000-20000 บีทียู | 1,800 บาท | 4 เดือน | 2 ชั่วโมง |
2 | เครื่องปรับอากาศ ขนาด 21000-28000 บีทียู | 2,500 บาท | 4 เดือน | 2 ชั่วโมง |
3 | เครื่องปรับอากาศ ขนาด 30000-38000 บีทียู | 3,000 บาท | 4 เดือน | 2 ชั่วโมง |
4 | เครื่องปรับอากาศ ขนาด 39000-48000 บีทียู | 3,800 บาท | 4 เดือน | 2 ชั่วโมง |
5 | เครื่องปรับอากาศ ขนาด 49000-60000 บีทียู | 4,800 บาท | 4 เดือน | 2 ชั่วโมง |
แอร์รั่ว คือแอร์ที่ไม่มีน้ำยาในระบบ เติมเข้าไปเท่าไรก็หมด น้ำยาหมดเร็วรั่วเยอะ น้ำยาหมดช้าแสดงว่ารั่วน้อยหรือแค่ซึม
สาเหตุที่ั่น้ำยารั่ว
- แฟนัตบานไม่ดี หรืออาจช่างขันแฟนัตไม่แน่น
- ท่อน้ำยาเสื่อมสภาพทำให้เกิดรูรั่วที่เรียกว่าตาหมด
- ท่อน้ำยารั่วเกิดจาการสั่นของคอมเพสเซอร์แอร์
- ท่อน้ำยารั่วเกิดจากการเสียดสีของท่อน้ำยาด้วยกัน
- ท่อนน้ำยารั่วเกิดจากการผลิตไม่ดี และใช้ทองแดงเกรดต่ำ
การแก้ไข/ซ่อมแอร์รั่ว
- รั่วแฟนัต ต้องทำการบานแฟนัตใหม่
- รั่วท่อต้องทำการเชื่อมปิดรูรั่ว
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำยาแอร์ที่อยู่ในระบบท่อน้ำยานั้นทีสถานะเป็นทั้งของเหลวและก๊าซปนกันไป นอกจากนั้นยังมีน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ปนอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อแอร์น้ำยารั่ว น้ำมันหล่อลื่นก็จะออกมาด้วย ทำให้บริเวณที่เกิดรอยรั่วนั้นมีคราบน้ำมันเปื้อนอยู่ ทำให้เราสามารถสังเกตคราบน้ำมันนั้น และสัญนิษฐานได้ว่าบริเวณนั้นคือรอยรั่วที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
สาเหตุที่เกิดรอยรั่วในระบบน้ำยาแอร์เกิดขึ้นได้หลายอย่าง เช่น การติดตั้งที่ไม่ดี ขันแฟลนัตไม่แน่น หรือบานแฟลไม่ได้สัดส่วน พอติดตั้งแล้วก็ใช้ได้ไม่นานแอร์ก็ไม่เย็น เพราะน้ำยาค่อยๆรั่วซึมออกจนหมด หรือหากเป็นแอร์เก่าที่ใช้งานมานานก็มีโอกาสน้ำยารั่วได้เช่นกัน เนื่องจากท่อน้ำยาแอร์นั้นมีรอยต่อมากมายทั้งในคอยล์เย็น, คอยล์ร้อน หรือแม้แต่รอยต่อของอุปกรณ์ต่างๆเช่น คอมเพรสเซอร์, ฟิลเตอร์ดรายเออร์, สต๊อปวาล์ว, หรือแม้แต่แนวท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่างคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นก็สามารถรั่วได้ด้วย สรุปแล้วสาเหตุแอร์น้ำยารั่วนั้นก็เกิดจากรอยต่อของงท่อน้ำยาแอร์ไม่แน่นจากโรงงาน, การติดตั้งที่ไม่รอบคอบเชื่อมท่อหรือขันแฟลนัตไม่แน่น และสาเหตุจากอายุการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบท่อน้ำยาแอร์
นอกจากนั้นยังมีสาเหตุจากท่อน้ำยาแอร์เสียดสีกันจนเกิดรอยรั่ว, ไฟฟ้าช๊อตทำให้ท่อน้ำยาแอร์ระเบิด, หรือตะปูตอกคอนกรีตที่ตอกไปโดนท่อน้ำยาแอร์ที่ฝังอยู่ในผนัง เป็นต้น ทั้งนี้ล้วนเป็นประสบการณ์ที่ผูเขียนพบเจอมาแล้วทั้งสิ้น และมาดูว่าเราจะแก้ไขอย่างอย่างไรกันครับ หลักการก็คือหารอยรั่วให้เจอ>>ซ่อมรอยรั่วนั้น>>ทำสูญญากาศ>>เติมน้ำยาแอร์>>เปิดแอร์ทดสอบความเย็น
วิธีการหารั่วรอยนั้นมีเทคนิคมีหลายอย่าง และวิธีสังเกตก็คือคราบน้ำมันที่อยู่ตามรอยต่อ วาล์ว และจุดเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ
อัดน้ำยาแอร์เพื่อหารอยรั่ว วิธีนี้สามารถใช้ได้กับแอร์ที่รั่วซึมเพียงเล็กน้อยและยังมีน้ำยาแอร์อยู่ในระบบ เริ่มจากเปิดแอร์เพื่อให้คอมเพรสเซอร์ทำงานอัดน้ำยาเข้าสู่ระบบแล้วให้เช็คแรงดันน้ำยาแอร์ r-22 ที่อยู่ประมาณ 60-75psi หากต่ำกว่านี้แสดงว่าน้ำยารั่วแล้วแน่นอน ขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่นั้นคุณสามารถหารอยรั่วโดยใช้น้ำสบู่ลูบใล้บริเวณที่คุณสงสัยว่าเกิดรอยรั่ว เช่น เซอร์วิสวาล์ว เป็นต้น หากมีฟองสบู่พองขึ้นมา นั่นคือรอยรั่วที่คุณหาเจอแล้ว และอย่าลืมว่าอาจจะมีรอยรั่วที่อื่นด้วย อย่าลืมหาบริเวณรอยต่ออื่นๆด้วย หากเป็นรอยรั่วเพราะขันแฟลไม่แน่นคุณสามารถขันแฟลให้แน่นแล้วใช้น้ำสบู่ลูบไล้ดูอีกครั้งและเติมน้ำยาแอร์เพิ่มได้ทันที แต่หากเป็นรั่วที่ท่อหรือจุดเชื่อมต่อของอุปกรณ์ คุณจะต้องปล่อยน้ำยาแอร์ทิ้งและเชื่อมรอยรั่วนั้น>>ทำสูญญากาศ>>เติมน้ำยาแอร์>>เปิดแอร์ทดสอบความเย็น
อัดไนโตรเจนเพื่อหารอยรั่ว วิธีนี้ใช้กับอาการแอร์รั่วที่ไม่มีน้ำยาอยู่ในระบบเลย ต้องทำการอัดไนโตรเจนเข้าไปเพื่อหารอยรั่ว และต้องมีอุปกรณ์นิรภัยสำหรับไนโตรเจนที่มีแรงดันถึง 2,000psi เพื่อความปลอดภัย(ช่างแอร์ฝึกหัดไม่ควรทำงานนี้โดยลำพัง ควรมีช่างแอร์คอยควบคุมอยู่ตลอดเวลา) และข้อควรระวังก็คืออย่าอัดไนโตรเจนเข้าไปในตัวคอมเพรสเซอร์โดยตรง ให้ทำการตัดระบบท่อออกจากตัวคอมเพรสเซอร์ก่อน เพราะไนโตรเจนแรงดันสูงอาจจะเข้าไปทำให้ชิ้นส่วนของคอมเพรสเซอร์เสียหายได้ แรงดันที่อัดเข้าไปอยู่ที่ประมาณ 200-300psi และหลังจากอัดไนโตรเจนเข้าไปแล้วก็หารอยรั่วตามวิธีข้างต้นได้เลยครับ>>เชื่อมรอยรั่วนั้น>>ทำสูญญากาศ>>เติมน้ำยาแอร์>>เปิดแอร์ทดสอบความเย็น
อย่าใช้ออกซิเจนอัดเข้าไปในท่อน้ำยาเพื่อหารอยรั่วเด็ดขาด
หลังจากการหารอยรั่ว>>เชื่อมรอยรั่วนั้น>>ทำสูญญากาศ>>เติมน้ำยาแอร์>>เปิดแอร์ทดสอบความเย็น บางครั้งสำหรับแอร์เก่าที่หารอยรั่วไม่เจอ อาจจะเกิดรอยรั่วที่ตัวคอยล์ต้องการการตัดคอยล์นั้นออกจากตัวเครื่องแล้วนำกลับมาที่ร้านเพื่ออัดไนโตรเจนเข้าไปและเอาคอยล์นั้นแช่น้ำเพื่อหารอยรั่วที่เป็นตามด ที่อาจเป็นรอยรั่วเล็กๆที่ยากจะเจอ แต่เมื่อนำมาอัดไนโตรเจนและแช่น้ำแล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น