รับซ่อมตู้เย็น ตู้แช่ ตู้ไวน์ ตู้แช่แข็ง ตู้แช่สแตนเลส ตู้แช่สินค้า ตู้แช่มินิมาร์ท บริการถึงที่บ้าน
- ตั้งไว้ในที่ที่เหมาะสม ควรตั้งห่างจากผนังบ้านประมาณ 15 ซม. เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และไม่ควรตั้งอยู่ในที่มุมอับเพราะจะทำให้แผงระบายความร้อนระบายความร้อนได้ไม่ดี ส่งผลให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อน และกินไฟมากขึ้น
- ตั้งสวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม ในตู้เย็นจะมีปุ่มหมุน เพื่อตั้งความเย็น มีค่าตั้งแต่ 1 – 8 หรือ10 เพื่อประหยัดพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำ ที่อุณหภูมิพอเหมาะ
- อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อยๆ หรือเปิดไว้นานๆ เพราะจะทำให้ความร้อนเข้าไปในตู้เย็น และตู้เย็นก็ต้องเริ่มสะสมความเย็นใหม่ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น
- อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะนำความร้อนไปสะสมเพิ่มอุณหภูมิภายในตู้เย็นมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานนานขึ้น จึงกินไฟเพิ่มขึ้น
- ละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีน้ำแข็งไปเกาะที่แผงเย็นมาก จะทำให้ช่องที่แช่เย็นช้าและเย็นน้อย ดังนั้น ถ้าเห็นว่ามีน้ำแข็งเกาะที่แผงเย็นหนามากขึ้น วิธีที่ดีควรดึงปลั๊กไฟออกเพื่อให้น้ำแข็งละลายออกจนหมด หรือกดปุ่มละลายน้ำแข็งได้ทันทีและห้ามนำของมีคม หรือมีดแกะน้ำแข็งออก เพราะอาจจะทำให้แผงเย็นชำรุดเสียหายได้
- หมั่นทำความสะอาดแผงร้อน แผงร้อนคือ แผงที่ติดอยู่ด้านหลังตู้เย็น มีหน้าที่ระบายความร้อน และเมื่อใช้ไปนานๆ ฝุ่นก็จะเกาะตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ จะทำงานหนักขึ้นและกินไฟมากขึ้น ควรใช้ผ้าหรือแปรงเช็ดให้สะอาดแผงร้อนก็จะระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับตู้เย็นรุ่นใหม่จะมีแผงร้อนอยู่ด้านใน จึงไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องนี้มากนัก
- ตรวจสอบขอบยางประตู อย่าปล่อยให้ขอบยางประตูตู้เย็นรั่วหรือขาด เพราะจะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าไปในตู้เย็น สามารถทดสอบได้จากการใช้กระดาษสอดระหว่างขอบยาง และตัวตู้ แล้วเลื่อนกระดาษโดยรอบ ถ้ามีส่วนใดไม่สนิทควรเปลี่ยนขอบยางใหม่
- รีบซ่อมสวิทซ์หลอดไฟ ถ้าสวิทซ์ เปิด-ปิด แสงสว่างในตู้เย็นเสียให้รีบเปลี่ยนโดยด่วน เพราะจะทำให้ไฟติดตลอดเวลาซึ่งจะเป็นการเพิ่มความร้อนภายในตู้มากขึ้น
- ตรวจสอบกระแสไฟตู้เย็นรั่วลงดิน อย่าให้ตู้เย็นมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือกราวด์ ในกรณีที่ตู้เย็นมีการต่อสายลงดินเพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคล ถ้าไฟรั่วลงดินจะให้ตู้เย็นกินไฟมากกว่าปกติ ตรวจสอบโดยการปิดไฟทุกชนิดในบ้าน ยกเว้นตู้เย็นแล้วปิดสวิทซ์อุณหภูมิให้ต่ำที่สุด จนคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน แล้วสังเกตที่มิเตอร์ ถ้าจานหมุนแสดงว่าไฟรั่วลงดิน แต่จะตรวจสอบได้เฉพาะตู้เย็นที่ต่อสายดินเท่านั้น
- ตรวจสอบการทำงานของตู้เย็น อย่าปล่อยให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งมีสาเหตุจากน้ำยาน้อย เครื่องเดินตลอดเวลาแต่ไม่ค่อยมีความเย็น ตรวจสอบจากการเอามือแตะที่แผงความร้อน ถ้าอุ่นร้อนทั่วทั้งแผง แสดงว่าเครื่องทำงานปกติ แต่ถ้าอุ่นร้อนไม่ทั่วทั้งแผง ก็แสดงว่าเครื่องทำงานไม่เต็มที่ ทำให้กินไฟเพิ่มมากขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น